จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ศิลปะบาโรก

  ศิลปะบาโรก

ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก
ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-centuries/xxie/2005-2007.html


   
ศิลปะบาโรก (Baroque) เกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16  สืบต่อเนื่องจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่เน้นความโอ่อ่า หรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยมีงานศิลปะหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรีทและวรรณกรรม ที่จะกล่าวรายละเอียด ดังนี้

ลักษณะของศิลปะบาโรก

    ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะของรูปแบบศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแห่งปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงที่บิดผันจนเกินงามหรือประณีต บรรจงเกินไป เน้นมีรูปแบบอลังการ โอ่อ่า หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ และแววับด้วยสีทอง และศิลปะบาโรกก็ยังถูกพัฒนาไปเป็นศิลปะแบบโรโกโก (Rococo)

จิตกรรมแบบบาโรก

    มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็น 3 มิติ มีจิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ (Michelangelo da Caravaggio ; ค.ศ. 1573-1610) ชาวอิตาลี เรมบันต์ (Rembrandt ; ค.ศ. 1606-1669) ชาวดัชต์ และพีเตอร์ พอล รูเบนส์ (Peter Paul Rubens ; ค.ศ. 1577-1644) ชาวเฟลมิช ตัวอย่างจิตกรรมแบบบาโรก เช่น ยาม ยกกางเขน คนดูไพ่ เป็นต้น

ภาพที่ 2 "การเฝ้ายามกลางคืน" ผลงานของเรมบันต์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/The_Nightwatch_by_Rembrandt_-_Rijksmuseum.jpg

ภาพที่ 3 ยกกางเขน ผลงายของพีเตอร์ พอล รูเบนส์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Peter_Paul_Rubens_-_De_kruisoprichting.JPG

สถาปัตยกรรมแบบาโรก

    นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่า โอฬารเกินความจำเป็น ในฝรั่งเศสถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความสุขและความหรูหราแก่ชนชั้นสูง เช่น การออกแบบพระราชวังแวร์ซายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นต้น

ภาพที่ 4 พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Palace_of_Versailles

ดนตรีแบบบาโรก

    นิยมเน้นความอ่าอ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพื่อให้เกิดสีสันและอรรถรสในการรับฟัง และมีการเริ่มใช้นันไดเสียง สังคีตกวีในยุคนี้ ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi ; ค.ศ. 1675-1741) ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกในการประพันธ์เพลงประเภทคอนแชร์โต โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach ; ค.ศ. 1685-1750) ชาวเยอรมัน เป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในยุคบาโรก ซึ่งมีผลงานส่วนใหญ่ใช้สำหรับพิธีการทางศาสนา

ภาพที่ 5 โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/JSBach.jpg

วรรณกรรมแบบบาโรก

    มีลักษณะเป็นเรื่องที่เขียนเกินจริง วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Locke ; ค.ศ. 1632-1704) ชาวอังกฤษและผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น


ภาพที่ 6 จอห์น ลอค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/John_Locke.jpg

    กล่าวโดยสรุป ศิลปะบาโรกเริ่มขึ้นหลักจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย มีผลงานจิตกรรมที่เด่นๆ เช่น ยกกางเขน ซึ่งเป็นผลงานของพีเตอร์ พอล รูเบนส์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เช่น พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น มีสังคีตกวีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี และโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เป็นต้น และวรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวเกินจริง

บรรณานุกรม

ไพฑูรย์ มีกุล. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2  (พิมพ์ครั้งที่ 1). 

          กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. 

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สุชาติ เถอทอง, สังคม ทองมี และธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์. (2551). หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ม.5

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สำเร็จ คำโมง, สุดใจ ทศพร, ณรงค์ ปิฏกรัชต์, มรฑา กิมทอง และชนินทร์ พุ่มศิริ. (2556). หนังสือเรียน

ดนตรี ม.4 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

เอมอร กาศสกุล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรม

           แบบบาโรก. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-

culture/page9.htm

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สงครามร้อยปี (สงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส)

 สงครามร้อยปี (สงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส)

ภาพที่ 1 ภาพวาดสงครามร้อยปี 
ที่มา https://www.facebook.com/HistoryOnTimeline/photos/


        สงครามร้อยปี เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยเหตุการณ์นี้อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1337-1453 ซึ่งมีระยะเวลาทั้งหมด 116 ปี เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้รูปแบบการเมืองและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือแคว้นมาเป็นความขัดแย้งระหว่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่

สาเหตุของสงคราม

    1. ความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส นับตั้งแต่วิลเลียม ดุ๊ก แห่งแคว้นนอร์มองดี ซึ่งเป็นข้าติดที่ดินของกษัตริย์ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษใน ค.ศ. 1066 นับตั้งแต่นั้นมากษัตริย์อังกฤษก็มีที่ดินในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ยังคงพยายามช่วงชิงดินแดนดังกล่าวกลับคืนมาจากกษัตริย์อังกฤษ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 อังกฤษก็มีดินแดนเพียงไม่กี่แห่งในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส 
    2. สิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III ค.ศ. 1327-1377) กษัตริย์อังกฤษส่งอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส เนื่องจากพระองค์มีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศส แต่ขุนนางฝรั่งเศสกับเลือกพระเจ้าฟิลิปที่ 6 (Philip VI ค.ศ. 1328-1350) เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส 
    3. อังกฤษต้องการผนวกสกอตแลนด์ แต่สกอตแลนด์ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้ต่อต้านอังกฤษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจฝรั่งเศส 
    4. ในด้านเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสได้พยายามขัดขวางความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างอังกฤษกับแคว้นฟลานเดอร์ (ประเทศเบลเยี่ยมในปัจจุบัน) และฝรั่งเศสได้พยายามขัดขวางอังกฤษในการเข้ายึดครองแคว้นกาสโกนีเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการค้า 
    5. สาเหตุจากภายในประเทศ เนื่องจากกษัตริย์ทั้งสองประเทศกำลังประสบปัญหาการขยายอำนาจของขุนนาง จึงต้องการใช้สงครามระหว่างประเทศดึงความสนใจของขุนนางและประชาชน

ภาพที่ 2 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1327-1377)
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/King_Edward_III_(retouched).jpg

ภาพที่ 3 พระเจ้าฟิลิปที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1328-1350)
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Robert-Fleury_-_Philip_VI_of_France.jpg

สถานการณ์ของสงคราม

    ในช่วงระยะเวลาสงครามร้อยปี  อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงครามกันเป็นระยะๆ โดยอังกฤษเป็นฝ่ายโจมตีฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสพยายามต่อต้าน แต่ก็ทำอังกฤษก็สามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ ทำให้ฝรั่งเศสต้องทำสัญญาสันติภาพกับอังกฤษใน ค.ศ. 1358 โดยอังกฤษได้ครอบครองดินแดนในฝรั่งเศสหลายแห่งด้วยกัน และยังได้รับเงินค่าไถ่องค์พระเจ้าจอห์นที่ 2 (John II ค.ศ. 1305-1364) กษัตริย์ฝรั่งเศสที่ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกด้วย ในขณะเดียวกันอังกฤษก็ยอมยกเลิกการอ้างสิทธิในตำแหน่งกษัตริย์ฝรั่งเศส หลังจากสงครามทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสก็ต่างต้องเผชิญกับปัญหาโรคระบาดและความไม่สงบภายในประเทศ ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในประเทศฝรั่งเศสได้ทำการต่อต้านอังกฤษ พร้อมกับขอให้ฝรั่งเศสมาเกี่ยวข้องด้วย สงครามได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1370 ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ 5 (Charles V ค.ศ. 1364-1380) สงครามระยะนี้กองทัพฝรั่งเศสได้เปรียบในการรบ จนในที่สุดอังกฤษก็เหลือดินแดนในประเทศฝรั่งเศสเพียงเล็กน้อย 
    หลังสงครามสงบ ฝรั่งเศสต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างฝ่ายต่อต้านอังกฤษกับฝ่ายนิยมอังกฤษ ในที่สุดฝ่ายนิยมอังกฤษก็เป็นฝ่ายชนะ ทำให้ประเทศสงบศึกกันนานกว่า 2 ทศวรรษ แต่อังกฤษก็ยังคงแทรกแซงทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศสและเกิดสงครามขึ้นเป็นระยะๆ กองทัพอังกฤษรุกรานฝรั่งเศส แต่กองทัพฝรั่งเศสก็มีวีรสตรีโจนออฟอาร์ค (Joan of Arc) เป็นผู้นำทัพ จึงสามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษได้ที่เมืองออร์เออง (Orleans ค.ศ. 1429) และเอาชนะอังกฤษได้ในหลายครั้ง ในปีต่อมา โจนถูกจับตัวโดยฝ่ายสนับสนุนอังกฤษ ถูกดำเนินคดีในศาลศาสนา และถูกเผาทั้งเป็นในค.ศ. 1430 วีรกรรมของโจนได้ก่อให้เกิดความคิดเรื่องชาตินิยมในหมู่ชาวฝรั่งเศสอย่างรุนแรง 
    หลังจากนั้นกองทัพฝรั่งเศสได้ทำการยึดดินแดนกลับคืนจากอังกฤษได้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสงครามยุติลงในค.ศ. 1453

ภาพที่ 4 โจนออฟอาร์กกู้เมืองออร์เลียงส์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Lenepveu,_Jeanne_d'Arc_au_sians.jpg


ภาพที่ 5 กองทัพอังกฤษและกองทัฟฝรั่งเศสกำลังทำสงครามกัน
ที่มา http://pongsarinya.myreadyweb.com/article/topic-66441.html

ผลของสงคราม

1. ฝรั่งเศสชนะสงคราม 
2. อังกฤษเสียดินแดนในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมดยกเว้น เมืองกาเล 
3. กษัตริย์อังกฤษถูกจำกัดอำนาจในการปกครอง 
4. การเริ่มต้นของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศส 
5. จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

ภาพที่ 6 เมืองกาเล (calais) ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา https://www.budgetyourtrip.com/france/calais 
 

ผลกระทบของสงครามร้อยปี

ผลกระทบต่อประเทศอังกฤษ 
1. กษัตริย์อังกฤษหันมาสนพระทัยกิจการภายในประเทศและการค้ากับดินแดนโพ้นทะเลมากขึ้น 
2. รัฐสภาในอังกฤษได้มีอำนาจเพิ่มขึ้นในการต่อรองกับกษัตริย์ เนื่องจากสงครามทำให้รัฐบาลต้องการเงิน จึงมีการต่อรองเพื่อให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบงบประมาณที่ใช้ในการทำสงคราม ทำให้รัฐสภามีอำนาจมากขึ้น 
3. เกิดชาตินิยมในหมู่ชาวอังกฤษจากชัยชนะของกองทัพอังกฤษ ในขณะเดียวกันกษัตริย์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นจากการสนับสนุนของชาวอังกฤษในการต่อต้านต่างชาติ 
4. ขุนนางเสียชีวิตและยากจนลง ทำให้กษัตริย์อังกฤษสามารถรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางได้สำเร็จ 

ผลกระทบต่อฝรั่งเศส 
1. เป็นการส่งเสริมอำนาจเด็ดขาดให้แก่กษัตริย์ฝรั่งเศสในการปรับปรุงกองทัพเพื่อปราบปรามขุนนางและทำสงครามกับต่างชาติ 
2. รัฐสภาได้ยอมรับอำนาจของสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นจนพัฒนากลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเวลาต่อมา 
3. การทำให้เกิดชาตินิยมในหมู่ของชาวฝรั่งเศส โดยเฉพาะแนวคิดความเป็นชาติเดียวกัน วีรกรรมของโจนออฟอาร์คกลายเป็นตำนานของชาวฝรั่งเศสมานานนับศตวรรษจนถึงปัจจุบัน

    กล่าวโดยสรุป สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337-1453) เป็นสงครามระหว่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้รูปแบบการเมืองและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และยังเป็นต้นกำเนิดของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ โดยส่วนมากอังกฤษจะเป็นฝ่ายโจมตีฝรั่งเศส แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถรบชนะอังกฤษได้ และมีตำนานโจนออฟอาร์คซึ่งเป็นตำนานดังของฝรั่งเศสมานานนับศตวรรษจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

ณรงค์ พ่วงพิศ, วุฒิชัย มูลศิลป์, สัญชัย สุวังบุตร, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และชาคริต ชุ่มวัฒนะ. (2555).  
          หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์ ม.3 (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. 
          จำกัด. 
ทสมล ชนาดิศัย. (2561). อัจฉริยะ 100 หน้า สงคราม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัมรินทร์
          พริ้นติ้งแอนด์พลิบบัชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 
ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. (2558). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 
          (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. 
ไพฑูรย์ มีกุล. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2  (พิมพ์ครั้งที่ 1). 
          กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. 
สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 
          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...