จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ศิลปะบาโรก

  ศิลปะบาโรก

ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก
ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-centuries/xxie/2005-2007.html


   
ศิลปะบาโรก (Baroque) เกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16  สืบต่อเนื่องจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่เน้นความโอ่อ่า หรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยมีงานศิลปะหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรีทและวรรณกรรม ที่จะกล่าวรายละเอียด ดังนี้

ลักษณะของศิลปะบาโรก

    ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะของรูปแบบศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแห่งปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงที่บิดผันจนเกินงามหรือประณีต บรรจงเกินไป เน้นมีรูปแบบอลังการ โอ่อ่า หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ และแววับด้วยสีทอง และศิลปะบาโรกก็ยังถูกพัฒนาไปเป็นศิลปะแบบโรโกโก (Rococo)

จิตกรรมแบบบาโรก

    มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็น 3 มิติ มีจิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ (Michelangelo da Caravaggio ; ค.ศ. 1573-1610) ชาวอิตาลี เรมบันต์ (Rembrandt ; ค.ศ. 1606-1669) ชาวดัชต์ และพีเตอร์ พอล รูเบนส์ (Peter Paul Rubens ; ค.ศ. 1577-1644) ชาวเฟลมิช ตัวอย่างจิตกรรมแบบบาโรก เช่น ยาม ยกกางเขน คนดูไพ่ เป็นต้น

ภาพที่ 2 "การเฝ้ายามกลางคืน" ผลงานของเรมบันต์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/The_Nightwatch_by_Rembrandt_-_Rijksmuseum.jpg

ภาพที่ 3 ยกกางเขน ผลงายของพีเตอร์ พอล รูเบนส์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Peter_Paul_Rubens_-_De_kruisoprichting.JPG

สถาปัตยกรรมแบบาโรก

    นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่า โอฬารเกินความจำเป็น ในฝรั่งเศสถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความสุขและความหรูหราแก่ชนชั้นสูง เช่น การออกแบบพระราชวังแวร์ซายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นต้น

ภาพที่ 4 พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Palace_of_Versailles

ดนตรีแบบบาโรก

    นิยมเน้นความอ่าอ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพื่อให้เกิดสีสันและอรรถรสในการรับฟัง และมีการเริ่มใช้นันไดเสียง สังคีตกวีในยุคนี้ ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi ; ค.ศ. 1675-1741) ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกในการประพันธ์เพลงประเภทคอนแชร์โต โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach ; ค.ศ. 1685-1750) ชาวเยอรมัน เป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในยุคบาโรก ซึ่งมีผลงานส่วนใหญ่ใช้สำหรับพิธีการทางศาสนา

ภาพที่ 5 โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/JSBach.jpg

วรรณกรรมแบบบาโรก

    มีลักษณะเป็นเรื่องที่เขียนเกินจริง วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Locke ; ค.ศ. 1632-1704) ชาวอังกฤษและผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น


ภาพที่ 6 จอห์น ลอค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/John_Locke.jpg

    กล่าวโดยสรุป ศิลปะบาโรกเริ่มขึ้นหลักจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย มีผลงานจิตกรรมที่เด่นๆ เช่น ยกกางเขน ซึ่งเป็นผลงานของพีเตอร์ พอล รูเบนส์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เช่น พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น มีสังคีตกวีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี และโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เป็นต้น และวรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวเกินจริง

บรรณานุกรม

ไพฑูรย์ มีกุล. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2  (พิมพ์ครั้งที่ 1). 

          กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. 

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สุชาติ เถอทอง, สังคม ทองมี และธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์. (2551). หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ม.5

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สำเร็จ คำโมง, สุดใจ ทศพร, ณรงค์ ปิฏกรัชต์, มรฑา กิมทอง และชนินทร์ พุ่มศิริ. (2556). หนังสือเรียน

ดนตรี ม.4 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

เอมอร กาศสกุล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรม

           แบบบาโรก. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-

culture/page9.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...