ผลงานของชาวสุเมเรียน
ภาพที่ 1 ภาพแกะสลักชาวสุเมเรียน ที่มา http://mesopotamia2018.blogspot.com/2018/07/blog-post.html |
ชาวสุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอิรักและบางส่วนของอิหร่าน โดยบริเวณที่ชาวสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นมีชื่อเรียกว่า "ซูเมอร์" โดยชาวสุเมเรียนได้สร้างสรรค์อารยธรรมที่เป็นผลงานโดดเด่นของตนไว้ดังนี้
อักษรคูนิฟอร์ม
ภาพที่ 2 อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม ที่มา https://www.historyontimeline.info/single-post/Cuneiform0 |
อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม เป็นหนึ่งในระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยชาวสุเมเรียนไปผู้ประดิษฐ์ขึ้นมา เมื่อประมาณราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรกมีลักษณะเป็นอักษรภาพ โดยใช้ไม้ปลายแหลมจากที่ทำจากต้นอ้อ กดเป็นรูปภาพง่ายๆลงบนดินเหนียวและนำไปตากแห้งด้วยความร้อน เช่น รูปปลาแทนความหมายว่าปลา บางรูปก็สามารถใช้แทนการแสดงกิริยาได้ เช่น เท้าแทนการเดิน เป็นต้น ในเวลาต่อมา มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการอธิบายคำที่เป็นนามธรรมและเป็นตัวอักษรที่ใช้แทนลัญลักษณ์เรขาคณิต ตัวอักษรลิ่มของสุเมเรียนยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติอื่นๆ นอกจากใช้ในการทำบัยชีแล้ว ยังถูกนำไปใช้ในบทบัญญัติทางศาสนาและงานวรรณกรรมอีกเช่นกัน
ซิกกูแรต
ภาพที่ 3 ซิกกูแรตแห่งเมืองอูร์ ประเทศอิรัก ที่มา https://www.ufocia.com/2018/08/blog-post_57.html |
ซิกกูแรต เป็นสิ่งที่แสดงใหห้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาของชาวสุเมเรียน มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติ ใช้เป็นเทวสถานในการบูชาเทพเจ้าหรือเทพประจำเมืองเพื่อไม่ให้พระองค์ทรตงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ เพราะชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมารับใช้พระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ซิกกูแรตยังเป็นที่สอนหนังสือให้แกนักบวชรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆและอ่านออกเขียนได้
ซิกกูแรต เป็นสิ่งที่แสดงใหห้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาของชาวสุเมเรียน มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติ ใช้เป็นเทวสถานในการบูชาเทพเจ้าหรือเทพประจำเมืองเพื่อไม่ให้พระองค์ทรตงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ เพราะชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมารับใช้พระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ซิกกูแรตยังเป็นที่สอนหนังสือให้แกนักบวชรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆและอ่านออกเขียนได้
วรรณกรรม "มหากาพย์กิลกาเมซ"
ภาพที่ 4 จารึกมหากาพย์กิลกาเมซ ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/GilgameshTablet.jpg |
มหากาพย์กิลกาเมช เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นเรื่องราวผจญภัยของกิลกาเมซ ประมุขและวีรบุรุษแห่งอุรุก มีอยู่ชีวิตอยู่ในราว 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งต่อมาตกทอดไปยังพวกบาบิโลนและเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยมีเนื้อเรื่องโดยย่อคือ กิลกาเมซพยายามแสวงหาชีวิตอมตะ แต่ล้มเหลวและไม่สามารถเอาชนะชะตาชีวิตของตนได้เพราะความตายและมนุษย์เป็นสิ่งคู่กัน และในมหากาพย์กิลกาเมซยังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ ดังที่เกิดขึ้นในพันธสัญญาเก่าของชาวฮิบรูด้วย
จานหมุน
ภาพที่ 5 รถศึกใช้ลาลากของนักรบแห่งอูร์ ที่มา https://sites.google.com/site/socialstudiess33101/phakh-reiyn/ |
มรดกทางวัฒธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของชาวสุเมเรียน คือ การประดิษฐ์จานหมุน มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการปั้นภาชนะดินเผา ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นเครื่องกลชนิดแรกของโลก และนอกจากนี้พวกสุเมเรียนยังได้สร้างวงล้อที่ติดกับเพลาเพื่อใช้กับเกวียนและรถศึก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักรบบนรถศึกสามารถใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์
ภาพที่ 6 การทำบัญชีของชาวสุเมเรียน ที่มา http://wl.mc.ac.th/s32102/book1-1.htm |
ความรู้ความสามารถของชาวสุเมเรียนในเชิงคณิตศาสตร์ คือการรู้จักนำระบบฐานเลข 60 ในการแบ่งเวลาและมุม การคำนวนพื้นที่ของวงกลม การหาระยะทาง การคำนวณ ดารคิดมาตราชั่งตวงวัดและการนับปีเดือนแบบจันทรคติ นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังมีการบัญชีเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย
ภาพที่ 7 ปฏิทินของชาวสุเมเรียน ที่มา https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/xarythrrm-tawan-tk-yukh-boran/xarythrrm-krik/sumerians |
ในส่วนของด้านดาราศาสตร์ชาวสุเมเรียนยังสนใจศึกษาและจดบันทึกการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ โดยเชื่อว่าการโคจรดังกล่าวเกิดจากการกระทำของพระเจ้าและีอิทธิพลต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติของชาวสุเมเรียนยังอยู่ในมิติจำกัด ทำให้การค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมเรียนยังไม่มีพัฒนาเท่าที่ควร
กล่าวโดยสรุป ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีการสร้างสรรค์ผลงานหลายอย่าง เข่น อักษรคูนิฟอร์ม ซิกกูแรต มหากาพย์กิลกาเมซ จานหมุน ความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญของมนุษยชาติ และผลงานของชาวสุเมเรียนยังสืบทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน
บรรณานุกรม
ณรงค์ พ่วงพิศ วุฒิชัย มูลศิลป์. (2560). หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ม.2. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.
ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. (2558). ประวัติศาสตร์สากล 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทเอมพันธ์ จำกัด.
สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558).
หนังสือเรียนประวัติศาสตร์สากล ม.4-6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น