จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมัน

 สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมัน

Thermae - Wikipedia
ภาพที่ 1 สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมันในประเทศอังกฤษ
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Thermae.jpg


       ในสมัยก่อน ย้อนกลับไปยุคโรมันมีสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโคลอสเซียม สะพานส่งน้ำ หรือสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้

ประวัติความเป็นมา


Romans in Britain - Romans at Work
ภาพที่ 2 ภาพจินตนาการขณะที่ชาวโรมันกำลังอาบน้ำ
ที่มา https://www.romanobritain.org/11_work/raw_romans_at_work.php

    
สถานที่อาบน้ำสาธารณะหรือเธอเม (Thermae) แปลว่าร้อนในภาษากรีก ใช้สำหรับเรียกชื่ออาคารสถานที่ที่ใช้อาบน้ำแลออกกำลังกายในร่มของชาวโรมัน ในสมัยต้นอาณาจักร จะถูกสร้างอย่างวิจิตร หรูหรา และฟุ่มเฟือย เนื่องจากโรงอาบน้ำเป็นที่บำรุงความสุขของคนและคนส่วนน้อยที่ร่ำรวยเท้านั้นจึงจะเป็นเจ้าของได้ เพราะการอาบน้ำจะทำไปพร้อมการอบตัว

โครงสร้าง


The Roman Baths Spa | Anna Bowkis Photography
ภาพที่ 3 เสาแบบทัสคันในสถานที่อาบน้ำสาธารณะ
ที่มา https://www.annabowkisphotography.com/the-roman-baths-spa/

    แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ ได้แก่ Sacred Springs, Roman Temple, Bath House และพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ อาคารเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโรมัน มีเสาโรมันในรูปแบบของทัสคัน ใช้ระบบการก่อสร้างแบบอาร์คกับโวลท์ และใช้คอนกรีตเป็นโครงสร้างหลัก

การใช้ประโยชน์

The Roman Emperor Caracalla inspecting public baths he had built stock  image | Look and Learn
ภาพที่ 4 ภาพจินตนาการของโรมันกำลังพบปะกัน ณ สถานที่อาบน้ำสาธารณะ
ที่มา https://www.lookandlearn.com/history-images/The-Roman-Emperor-Caracalla

    ใช้เป็นสถานที่อาบน้ำชำระร่างกาย ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พักผ่อน มีโรงมหรสพ สำหรับให้คนทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ นอกจากจะใช้เป็นที่อาบน้ำและอาบตัวแล้ว ในบางครั้งอาจใช้เป็นที่พบปะ ประชุม พูดคุย ถกกันในเรื่องต่างๆของทุชนชั้น


    กล่าวโดยสรุป สถานที่อาบน้ำสาธารณะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวโรมัน มีสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมของชาวโรมันโดยเฉพาะ คือหัวเสาแบบทัสคัน นอกจากจะใช้เป็นที่อาบน้ำแล้ว ยังสามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พักผ่อน พบปะ ประชุม ได้อีกเช่นกัน


บรรณานุกรม

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

Talon Tiew. (2560). โรงอาบน้ำโบราณ The Roman Bath. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563, 

          จาก https://www.talontiew.com/the-roman-bath/

108TRIPS. (2561). โรมันบาธ Roman Baths. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563, 
           จาก https://www.108trips.com/blog-1597

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

 นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

มารู้จัก แคลคูลัส การ ประยุกต์ ใช้ แคลคูลัสในงานต่าง – Tuemaster  เรียนออนไลน์ ม.ปลาย
ภาพที่ 1 แคลคูลัส เป็นมรดกทางคณิตศาสตร์ของชาวกรีกโบราณ
ที่มา https://tuemaster.com/blog/17257/

    คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข การคำนวนต่างๆ ซึ่งเรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้หลายด้าน ตลอดจนได้บรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา โดยที่ในบางเรื่องเป็นมรดกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรีก เช่น เรขาคณิต สามเหลี่ยมมุมฉาก การหาค่าหารร่วมมาก(ห.ร.ม.) หารหาค่าคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) แคลคูลัส เป็นต้น ซึ่งมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่ได้คิดทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

เธลีส (626-548 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

เธลีส - วิกิพีเดีย
ภาพที่ 2 เธลิส
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Thales.jpg


    
เธลีส เป็นชาวเมืองมิเลทัส ในปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี โดยเฑลีสคนแรกที่นำคำนวนหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น 

พีทาโกรัส (570-495 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ประวัติปีทาโกรัส - บทเรียนออนไลน์ ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
ภาพที่ 3 พีทาโกรัส
ที่มา https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/pythagoras/--haelng-reiyn-ru/--prawati-pi-tha-ko-ras


    พีทาโกรัส เกิดที่เกาะซามอส แห่งทะเลอีเจียน ใกล้กับเอเชียไมเนอร์  เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางพีทาโกเรียน และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก" ซึ่งทฤษฎีทั้ง 2 นี้ เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ พีทาโกรัสยังเป็นลูกศิษย์ของเธลีสอีกด้วย

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส: การพิสูจน์บทกลับพีทาโกรัส
ภาพที่ 4 สามเหลี่ยมของทฤษฏีบทพีทาโกรัส
ที่มา http://natthasit2545.blogspot.com/p/blog-page_79.html


ยูคลิด (325-270 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ยูคลิด - ArtistMath
ภาพที่ 5 ยูคลิด
ที่มา https://sites.google.com/site/artistmath/nak-khnit-sastr/yu-khlid


    
ยูคลิดแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรียยุคกรีกโบราณต่อจากเพลโตและก่อนหน้าอาค์คีมีดีส ผลงานที่สำคัญคือ หนังสือ Elements มีทั้งหมด 13 เล่ม มีเนื้อหาสว่นใหญ่เป็นทฤษฎีบทเรขาคณิต พีชคณิตเบื่องต้น  เรขาคณิตเชิงพีชคณิตเบื้องต้น และทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ที่เป็นต้นแบบของระบบคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน และหนังสือตำราเรขาคณิต Division of Figures, Data และ P้hacnomena 

อาร์คีมีดีส (287-212 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

บิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก-อาร์คิมิดีส (Archimedes) - วิทยาศาสตร์ ...
ภาพที่ 6 อาร์คีมีดีส
ที่มา https://sites.google.com/site/withyasastrscince35/aa


    อาร์คีมีดีส เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคโบราณ ผลงานด้านคณิตศาสตร์ของอาร์คีมีดีสที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน เช่น หนังสือที่ว่าด้วยดุลยภาพของระนาบที่ใช้คำนวนพื้นที่และจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุ
รูปต่างๆ หนังสือที่ว่าด้วยการวัดวงกลมที่อาร์คีมีดีสแสดงให้เห็นว่าค่า  π (พาย) มีค่ามากกว่า 223/71 แต่น้อยกว่า 22/7 หนังสือวงก้นหอยอาร์คีมีดีสที่เกี่ยวกับเส้นโค้งที่เกิดจากจุดเคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังเขายังเป็นผู้คิดค้นปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ทั้งทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ภาคตัดกรวย รวมทั้งคิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากการหมุน ผลงานของอาร์คีมีดีสมีอิทธิพลต่อวงการคณิตศาสตร์อย่างมากตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน

ชุดกิจกรรม "ภาคตัดกรวย" โดย ครูนุชนาถ วงษ์พรไพโรจน์
ภาพที่ 7 ภาคตัดกรวย
ที่มา http://nutchanat.rwb.ac.th/

    กล่าวโดยสรุป คณิตศาสตร์ในบางเรื่องเป็นหนึ่งในอารยธรรมของชาวกรีก โดยมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่สำคัญ เช่น เธลีส พีทาโกรัส ยูคลิด อาร์คีมีดีส เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์อารยธรรมกรีกโดยใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ และผลงานของพวกเขายังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

นิยม โงนรี. (2562). ยูคลิด. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
นิยม โงนรี. (2562). อาร์คีมีดีส. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.




วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผลงานของชาวสุเมเรียน

 ผลงานของชาวสุเมเรียน

เมโสโปเตเมีย Mesopotamia: สุเมเรียน Sumerian
ภาพที่ 1 ภาพแกะสลักชาวสุเมเรียน
ที่มา http://mesopotamia2018.blogspot.com/2018/07/blog-post.html

        ชาวสุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอิรักและบางส่วนของอิหร่าน โดยบริเวณที่ชาวสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นมีชื่อเรียกว่า "ซูเมอร์" โดยชาวสุเมเรียนได้สร้างสรรค์อารยธรรมที่เป็นผลงานโดดเด่นของตนไว้ดังนี้

อักษรคูนิฟอร์ม

คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หนึ่งในระบบอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
ภาพที่ 2 อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม
ที่มา https://www.historyontimeline.info/single-post/Cuneiform0

    อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม เป็นหนึ่งในระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยชาวสุเมเรียนไปผู้ประดิษฐ์ขึ้นมา เมื่อประมาณราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรกมีลักษณะเป็นอักษรภาพ โดยใช้ไม้ปลายแหลมจากที่ทำจากต้นอ้อ กดเป็นรูปภาพง่ายๆลงบนดินเหนียวและนำไปตากแห้งด้วยความร้อน เช่น รูปปลาแทนความหมายว่าปลา บางรูปก็สามารถใช้แทนการแสดงกิริยาได้ เช่น เท้าแทนการเดิน เป็นต้น ในเวลาต่อมา มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการอธิบายคำที่เป็นนามธรรมและเป็นตัวอักษรที่ใช้แทนลัญลักษณ์เรขาคณิต ตัวอักษรลิ่มของสุเมเรียนยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติอื่นๆ นอกจากใช้ในการทำบัยชีแล้ว ยังถูกนำไปใช้ในบทบัญญัติทางศาสนาและงานวรรณกรรมอีกเช่นกัน


ซิกกูแรต

ซิกกุรัต อารยธรรมดวงจันทร์
ภาพที่ 3 ซิกกูแรตแห่งเมืองอูร์ ประเทศอิรัก
ที่มา https://www.ufocia.com/2018/08/blog-post_57.html


    
ซิกกูแรต เป็นสิ่งที่แสดงใหห้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาของชาวสุเมเรียน มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติ ใช้เป็นเทวสถานในการบูชาเทพเจ้าหรือเทพประจำเมืองเพื่อไม่ให้พระองค์ทรตงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ เพราะชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมารับใช้พระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ซิกกูแรตยังเป็นที่สอนหนังสือให้แกนักบวชรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆและอ่านออกเขียนได้

วรรณกรรม "มหากาพย์กิลกาเมซ"

มหากาพย์กิลกาเมช - วิกิพีเดีย
ภาพที่ 4 จารึกมหากาพย์กิลกาเมซ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/GilgameshTablet.jpg


    
มหากาพย์กิลกาเมช เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นเรื่องราวผจญภัยของกิลกาเมซ ประมุขและวีรบุรุษแห่งอุรุก มีอยู่ชีวิตอยู่ในราว 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งต่อมาตกทอดไปยังพวกบาบิโลนและเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยมีเนื้อเรื่องโดยย่อคือ กิลกาเมซพยายามแสวงหาชีวิตอมตะ แต่ล้มเหลวและไม่สามารถเอาชนะชะตาชีวิตของตนได้เพราะความตายและมนุษย์เป็นสิ่งคู่กัน และในมหากาพย์กิลกาเมซยังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ ดังที่เกิดขึ้นในพันธสัญญาเก่าของชาวฮิบรูด้วย

จานหมุน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 - social studies
ภาพที่ 5 รถศึกใช้ลาลากของนักรบแห่งอูร์
ที่มา https://sites.google.com/site/socialstudiess33101/phakh-reiyn/


    
มรดกทางวัฒธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของชาวสุเมเรียน คือ การประดิษฐ์จานหมุน มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการปั้นภาชนะดินเผา ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นเครื่องกลชนิดแรกของโลก และนอกจากนี้พวกสุเมเรียนยังได้สร้างวงล้อที่ติดกับเพลาเพื่อใช้กับเกวียนและรถศึก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักรบบนรถศึกสามารถใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์


เปิดประตูสู่อารยธรรมโลก
ภาพที่ 6 การทำบัญชีของชาวสุเมเรียน
ที่มา http://wl.mc.ac.th/s32102/book1-1.htm

    ความรู้ความสามารถของชาวสุเมเรียนในเชิงคณิตศาสตร์ คือการรู้จักนำระบบฐานเลข 60 ในการแบ่งเวลาและมุม การคำนวนพื้นที่ของวงกลม การหาระยะทาง การคำนวณ ดารคิดมาตราชั่งตวงวัดและการนับปีเดือนแบบจันทรคติ นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังมีการบัญชีเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย
สุเมเรียน - อารยธรรมตะวันตกยุคโบราณ
ภาพที่ 7 ปฏิทินของชาวสุเมเรียน
ที่มา https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/xarythrrm-tawan-tk-yukh-boran/xarythrrm-krik/sumerians

    ในส่วนของด้านดาราศาสตร์ชาวสุเมเรียนยังสนใจศึกษาและจดบันทึกการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ โดยเชื่อว่าการโคจรดังกล่าวเกิดจากการกระทำของพระเจ้าและีอิทธิพลต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติของชาวสุเมเรียนยังอยู่ในมิติจำกัด ทำให้การค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมเรียนยังไม่มีพัฒนาเท่าที่ควร

    กล่าวโดยสรุป ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีการสร้างสรรค์ผลงานหลายอย่าง เข่น อักษรคูนิฟอร์ม ซิกกูแรต มหากาพย์กิลกาเมซ จานหมุน ความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญของมนุษยชาติ และผลงานของชาวสุเมเรียนยังสืบทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน

บรรณานุกรม

ณรงค์ พ่วงพิศ วุฒิชัย มูลศิลป์. (2560). หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ม.2. กรุงเทพมหานคร :  

          สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. (2558). ประวัติศาสตร์สากล 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. 

          กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทเอมพันธ์ จำกัด.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). 

          หนังสือเรียนประวัติศาสตร์สากล ม.4-6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.




    

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิธีการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์

 วิธีการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์


ภาพที่ 1 มัมมี่ของชาวอียิปต์
ที่มา : https://sites.google.com/site/kgiggug/mammi

    มัมมี่ เป็นหนึ่งในสิ่งที่โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ ซึ่งมีพื้นฐานความเชื่อจากความตายที่เชื่อว่าวิญญานผู้ตายสามารถหวนคืนกลับสู่ร่างกายของตนเองได้ ดังนั้นจึงมีการทำมัมมี่เพื่อเก็บรักษาร่างกายของผู้ตายไว้ สามารถสรุปได้เป็นประเด็นกังต่อไปนี้

  ประวัติความเป็นมา

     ในสมัยอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนสู่ร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าหลังจากวิญญาณผู้ตายออกจากร่างไประยะเวลาหนึ่งจะกลับคืนเข้าสู่ร่างเดิมของผู้ตาย ซึ่งทำให้ต้องมีการรักษาสภาพของร่างเดิมไว้ โดยการแช่และดองไว้ในน้ำยาบีทูมิน จะทำให้ซากศพไม่เน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา และสามารถเก็บรักษาร่างกายของผู้ตายให้คงไว้สถาพดังเดิม

อุปกรณ์ในการทำมัมมี่

1. ตะขอ                        11. คัมภีร์มรณะสำหรับผู้ตาย         21. เหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด
2. เกลือ                        12. เรซิน                                        22. น้ำจากแม่น้ำไนล์
3. ผ้า                            13. ภาพเทพโอซีริส                       23. แผ่นกระดาน
4. เตนท์พิเศษ(อีบู)      14. เชือก
5. ขี้เลื่อย                      15. โลงศพ
6. น้ำมันหอม                16. เครื่องเรือน
7. ไหใส่น้ำ                   17. ของมีค่า
8. ใบไม้                        18. เสื้อผ้า
9. ผ้าลินิน                     19. อาหาร
10. เครื่องราง                20. เครื่องดื่ม

ขั้นตอนการทำมัมมี่

1. ศพถูกนำไปยังเตนท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ชำระศพให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสดและชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์

ภาพที่ 2 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 1
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

2. ช่างก็จะผ่าท้องด้านซ้ายเพื่อเอาอวัยวะภายในออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน ซึ่งมีความชื้นสูง จะเป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว เหลือไว้แต่หัวใที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ

ภาพที่ 3 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 2
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi


3. ส่วนตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมาชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไปกลบไว้ด้วยเกลือเม็ดที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอเนต แล้วเขาจะสอดตะขอผ่านเข้าช่องทางจมูก เพื่อเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา เพราะสมองก็เหมือนอวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้งยาก และก่อให้เกิดการย่อยสลายได้ยาก

ภาพที่ 4 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 3
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi
 
4. จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกายและใช้ผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝั้งพร้อมกับศพ

ภาพที่ 5 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 4
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

5. ช่องว่างภายในร่างกายก็จะใส่เม็ดเกลือไว้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันจะทำให้ร่างกายเน่าเปื่อยและสูญสลายได้

ภาพที่ 6 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 5
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

6. ศพที่ถูกแช่เกลือไว้ 14 วันจนแห้งดี แล้วจะถูกนำมาชำระล้างด้วยน้ำจะแม่น้ำไนล์อีกแล้วจะเคลือบผิวหนังด้วยน้ำมันหอมเพื่อให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่มไม่แห้งกระด้างไปตามกาลเวลา

ภาพที่ 7 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 6
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

7. อวัยวะภายในที่แห้งจากการแช่เกลือ ก็จะถูกนำกลับมาบรรจุในช่องท้องและช่องอกเหมือนเดิม


ภาพที่ 8 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 7
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

8. และจะถูเติมด้วยของแห้งอย่างอื่นเต็ม เช่น ขี้เลื่อย ใบไม้ ผ้าลินิน เป็นต้น เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ไม่ยุบตัวลงไปในตามกาลเวลาในภายหลัง

ภาพที่ 9 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 8
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

9. จากนั้นก็ชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำผ้าลินินไปพันในขั้นถัดไป
    การพันห่อมัมมี่  : ขั้นแรก ศีรษะและลำคอจะถูกพันก่อนด้วยแถบผ้าลินินอย่างดี แล้วก็จะพันนิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันทีละนิ้ว แล้วก็พันห่อแขนและขาแต่ละทบก็จะใส่เครื่องรางเพื่อปกปักรักษาผู้ตายในระหว่างการเดินทางไปสู่ภพใหม่
ภาพที่ 10 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 9
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

10. ในขณะที่ร่างของมัมมี่กำลังถูกห่อพันด้วยผ่าลินิน ก็จะมีพระท่องมนต์เพื่อขจัดสิ่งที่เลวร้ายมิให้แผ้วพานผู้ตาย และเป็นการช่วยให้ผู้ตายเดินทางได้สะดวกในภพหน้า

ภาพที่ 11 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 10
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi


11. ส่วนขาและแขนของมัมมี่ก้จะถูกพันเข้ากับส่วนร่าง ตำรา "คัมภีร์สำหรับผู้ตาย" ก็จะรวมห่อไปด้วยให้ถือไว้ในมือ
ภาพที่ 12 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 11
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi


12. จากนั้นก็จะพันผ้าเพิ่มรวมให้ร่างถูกพันรวมกันหมด แต่ละชั้นของผ้าลินิน ผู้ทำมัมมี่ก็จะ
ทาไว้ด้วยเรซิน เพื่อให้ผ้าลินินยึดติดกันไม่หลุดรุ่ยออกได้ง่าย แล้วห่อด้วยผ้าผืนใหญ่อีกทีหนึ่ง จากนั้นก็จะวาดรูปเทพโอซีรีส บนผ้าที่ห่อมัมมี่นั้น
ภาพที่ 13 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 12
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi


13. จากนั้นก็ผ้าผืนใหญ่ห่ออีกชั้นหนึ่งแล้วมัดตราสังข์ด้วยผ้าลินินตลอดร่างอย่างแน่นหนาอีกเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็ปิดด้านบนของมัมมี่ของมัมมี่ด้วยแผ่นกระดานก่อนที่เอาเอาไปใส่ในโลงศพสองโลงซ้อนกัน ในพิธีศพญาติผู้ตายของพี่น้องมาไว้อาลัยและทำพิธี "เปิดปากศพ" เพื่อเป็นการเลี้ยงอาหารให้ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย

ภาพที่ 14 การทำมัมมี่ตามขั้นตอนที่ 12
ที่มา : https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi


14. ขั้นตอนสุดท้าย ก็จะเอาโลงศพไปใส่ไว้ในโลงหินแกะสลักที่ตั้งอยู่ในสถานเก็บศพ พร้อมด้วยเครื่องเรือน เสื้อผ้า ของมีค่า อาหารและเครื่องดื่ม จะถูกจัดวางไว้อย่างพร้อมเพรียงเป็นเสบียงให้ผู้ตายได้เดินทางไปสู่ปรภพโดยสะดวกแล้วร่างของผู้ตายก็พร้อมที่จะออกเดินทางสู่ดินแดนใต้โลก ที่ที่หัวใจของเขาจะถูกตัดสินตามความดีที่ได้ทำไว้ยมมีชีวิตอยู่ หากมีหัวใจบริสุทธิ์จริง ผู้ตายก็จะถูกส่งไปดินแดนอันสวยงามเพื่อชีวิตอันเป็นอมตะ ในดินแดนที่เรียกว่า ทุ่งต้นกก

มัมมี่มนุษย์ - เปิดกรุมัมมี่ดินแดนไอยคุปต์
ภาพที่ 15 มัมมี่ในโลงศพที่เสร็จสมบูรณ์
ที่มา : https://sites.google.com/site/peidkrumammidindan/-mammi-mnusy

ตัวอย่างมัมมี่อียิปต์ที่มีความสมบูรณ์

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแค่มัมมี่ของกษัตริย์ตุตังคาเมนและมัมมี่แมว เพราะมีความสมบูรณ์มากที่สุด
1. มัมมี่ของตุตังคาเมน เป็นมัมมที่ของคนที่มีความสมบูรณ์มาก เพราะจากการชันสูตรศพพบว่า ตุตังคาเมนเสียชีวิตอย่างกระทันหัน ทำให้มีการทำมัมมี่อย่างดี ทำให้มีสภาพดีที่สุดของมัมมี่อียิปต์

ตุตันคาเมน ฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ผู้เปิดตำนาน “คําสาปร้ายแห่งฟาโรห์” |  CatDumb | เว็บไซต์ไวรัล จับทุกกระแสบนโลก ...
ภาพที่ 16 มัมมี่ตุตังคาเมนหลักจากที่นำผ้าลินินที่พันอยู่ออก
ที่มา : https://www.catdumb.com/tutankhamuns-curse-378/


2. มัมมี่แมวอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่นำแมวมาแล้ว มีการพบมัมมี่แมวมากมายมนอียิปต์ มีความเชื่อว่าแมวเป็นเทพเจ้า

มัมมี่แมวเต็มไปหมด ! อียิปต์ขุดพบในโลงหินเก่าแก่เกิน 6,000 ปี
ภาพที่ 17 มัมมี่แมว
ที่มา : https://today.line.me/th/article/



อิทธิพลของมัมมี่ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

    มัมมี่เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมอียิปต์ แล้วหากกล่าวถึงอียิปต์ผู้คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงมัมมี่เป้นอันดับแรกๆ ดังนั้นจึงมีผู้สร้างหนังหรือผู้กำกับภาพยนตร์จำนวนมากสนใจในการดำเนินเรื่องเกี่ยวกับมัมมี่มากมายซึ่ง มีหนังที่เกี่บวกับมัมมี่ เช่น The Mummy The Mummy Returns และ Blood From the Mummy's Tomb เป็นต้น


เดอะมัมมี่2560.jpg
ภาพที่ 18 ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ มัมมี่
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/jpg


            กล่าวโดยสรุป การทำมัมมี่เป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของอารยธรรมอียิปต์ มีความเชื่อมาจากการที่คิดว่าวิญญาณผู้ตายสามรถเดินทางกลับเข้าร่างได้ จึงทให้เกิดขั้นตอนการทำมัมมี่อย่างพิถีพิถันขึ้นมา ตัวอ่างมัมมี่ที่สมบูรณ์แบบ เช่น มัมมี่ของกษัตริย์ตุตังคาเมน มัมมี่แมว เป็นต้น จากการที่มัมมี่มีชื่อเสียงมากทำให้มีการนำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมัมมี่ไปทำเป็นภาพยนตร์หลายเรื่อง แสดงให้เห็นว่าความเชื่อและภูมิปัญญาของชาวอียิปต์โบราณยังมีการสืบทอดมาตลอดถึงปัจจุบัน


บรรณานุกรม

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). 

          หนังสือเรียนประวัติศาสตร์สากล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

สุชาดา ดวงแก้ว. (2560). ขั้นตอนการทำมัมมี่. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, 

          จาก https://sites.google.com/site/prathesxiyiptsuchada/-khan-txn-kar-tha-mammi

Woonjoon Media. (2562). ชม 8 มัมมี่สุดน่าสนใจจาทั่วโลก ที่จะทำให้คุณทึ่งกับความลึกลับหลังความตายได้อย่างดี. 

           ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.catdumb.com/8-interesting-mummy-378/

Woonjoon Media. (2562). ตุตันคาเมน ฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ ผู้เปิดตำนาน "คำสาปร้ายแห่งฟาโรห์".            

          ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.catdumb.com/tutankhamuns-curse-378/

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ปฐมบท


ปฐมบท


La Pietà by Michelangelo - Best events, places, things to do near ...
ภาพที่1 รูปปั้นลา ปิเอตา

    สวัสดีค่ะทุกคนนน บล็อกนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สากล ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน มีเรื่องราวสนุกๆมาเล่าให้ฟังมากมายเลยค่ะ ติดตามได้ทุกวันจันทร์ตอน 16:00-19:00 น. แล้วพบกันค่าาาาาา

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...