จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

 นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

มารู้จัก แคลคูลัส การ ประยุกต์ ใช้ แคลคูลัสในงานต่าง – Tuemaster  เรียนออนไลน์ ม.ปลาย
ภาพที่ 1 แคลคูลัส เป็นมรดกทางคณิตศาสตร์ของชาวกรีกโบราณ
ที่มา https://tuemaster.com/blog/17257/

    คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข การคำนวนต่างๆ ซึ่งเรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้หลายด้าน ตลอดจนได้บรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา โดยที่ในบางเรื่องเป็นมรดกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรีก เช่น เรขาคณิต สามเหลี่ยมมุมฉาก การหาค่าหารร่วมมาก(ห.ร.ม.) หารหาค่าคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) แคลคูลัส เป็นต้น ซึ่งมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่ได้คิดทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

เธลีส (626-548 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

เธลีส - วิกิพีเดีย
ภาพที่ 2 เธลิส
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Thales.jpg


    
เธลีส เป็นชาวเมืองมิเลทัส ในปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี โดยเฑลีสคนแรกที่นำคำนวนหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น 

พีทาโกรัส (570-495 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ประวัติปีทาโกรัส - บทเรียนออนไลน์ ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
ภาพที่ 3 พีทาโกรัส
ที่มา https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/pythagoras/--haelng-reiyn-ru/--prawati-pi-tha-ko-ras


    พีทาโกรัส เกิดที่เกาะซามอส แห่งทะเลอีเจียน ใกล้กับเอเชียไมเนอร์  เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางพีทาโกเรียน และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก" ซึ่งทฤษฎีทั้ง 2 นี้ เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ พีทาโกรัสยังเป็นลูกศิษย์ของเธลีสอีกด้วย

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส: การพิสูจน์บทกลับพีทาโกรัส
ภาพที่ 4 สามเหลี่ยมของทฤษฏีบทพีทาโกรัส
ที่มา http://natthasit2545.blogspot.com/p/blog-page_79.html


ยูคลิด (325-270 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ยูคลิด - ArtistMath
ภาพที่ 5 ยูคลิด
ที่มา https://sites.google.com/site/artistmath/nak-khnit-sastr/yu-khlid


    
ยูคลิดแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรียยุคกรีกโบราณต่อจากเพลโตและก่อนหน้าอาค์คีมีดีส ผลงานที่สำคัญคือ หนังสือ Elements มีทั้งหมด 13 เล่ม มีเนื้อหาสว่นใหญ่เป็นทฤษฎีบทเรขาคณิต พีชคณิตเบื่องต้น  เรขาคณิตเชิงพีชคณิตเบื้องต้น และทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ที่เป็นต้นแบบของระบบคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน และหนังสือตำราเรขาคณิต Division of Figures, Data และ P้hacnomena 

อาร์คีมีดีส (287-212 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

บิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก-อาร์คิมิดีส (Archimedes) - วิทยาศาสตร์ ...
ภาพที่ 6 อาร์คีมีดีส
ที่มา https://sites.google.com/site/withyasastrscince35/aa


    อาร์คีมีดีส เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคโบราณ ผลงานด้านคณิตศาสตร์ของอาร์คีมีดีสที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน เช่น หนังสือที่ว่าด้วยดุลยภาพของระนาบที่ใช้คำนวนพื้นที่และจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุ
รูปต่างๆ หนังสือที่ว่าด้วยการวัดวงกลมที่อาร์คีมีดีสแสดงให้เห็นว่าค่า  π (พาย) มีค่ามากกว่า 223/71 แต่น้อยกว่า 22/7 หนังสือวงก้นหอยอาร์คีมีดีสที่เกี่ยวกับเส้นโค้งที่เกิดจากจุดเคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังเขายังเป็นผู้คิดค้นปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ทั้งทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ภาคตัดกรวย รวมทั้งคิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากการหมุน ผลงานของอาร์คีมีดีสมีอิทธิพลต่อวงการคณิตศาสตร์อย่างมากตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน

ชุดกิจกรรม "ภาคตัดกรวย" โดย ครูนุชนาถ วงษ์พรไพโรจน์
ภาพที่ 7 ภาคตัดกรวย
ที่มา http://nutchanat.rwb.ac.th/

    กล่าวโดยสรุป คณิตศาสตร์ในบางเรื่องเป็นหนึ่งในอารยธรรมของชาวกรีก โดยมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่สำคัญ เช่น เธลีส พีทาโกรัส ยูคลิด อาร์คีมีดีส เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์อารยธรรมกรีกโดยใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ และผลงานของพวกเขายังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

นิยม โงนรี. (2562). ยูคลิด. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
นิยม โงนรี. (2562). อาร์คีมีดีส. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...