จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

กำแพงเมืองจีน

 กำแพงเมืองจีน

ภาพที่ 1 กำแพงเมืองจีน
ที่มา https://travel.trueid.net/detail/23VAk0vBAPRQ

    จีน เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังต้องห้าม จัตุรัสเทียนอันเหมิน สุสานทหารม้า และอีมากมาย แต่มีอีกสถานที่หนึ่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กำแพงเมืองจีน ถือได้ว่ากำแพงเมืองจีนเป็นอีกสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญของจีน และเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

ภาพที่ 2 ป้อมปราการบนกำแพงเมืองจีน
ที่มา http://www.akcsys.org/master/index.php?topic=619.0

    กำแพงเมืองจีน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กำแพงหมื่นลี้" เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจีน และเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งของจีน มีความยาวทั้งหมด 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย เทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร มีความกว้าง 5 เมตร ทุกๆ 300-500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้เป็นจุดสังเกตการณ์และสับเปลี่ยนเวรยาม ปัจจุบันเห็นได้เพียง 1 ใน 3 ของกำแพงทั้งหมดเท่านั้น เพราะขาดการดูแลและการอนุรักษ์ของรัฐบาลจีน

ประวัติ

    
ภาพที่ 3 กำแพงเมืองจีนในสมัยราชวงศ์ฉิน
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Great_Wall_of_China_location_map.PNG

    กำแพงเมืองจีนถูกสร้างราวประมาณ 2,500 ปีก่อน ชาวจีนมักถูกชนเผ่าเร่ร่อนทางเหนือรุกรานบ่อยครั้ง นั่นคือ ชนเผ่าซยงหนู ชาวจีนจึงสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อป้องกันการรุกราน แต่ในระยะแรกไม่ได้มีการสร้างเชื่อมกำแพงเข้าเป็นแนวเดียวกัน จนกระทั่งในรัชสมัยของจักพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ (ครองราชย์ 221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จึงมีการเชื่อมกำแพงเมืองจีนเข้าเป็นแนวเดียวกัน ถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

ระยะเวลาในการสร้าง

    แบ่งได้ออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 205 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ราชวงศ์ฉิน) 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก 
ช่วงที่ 2 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ราชวงศ์ฮั่น) 
ช่วงที่ 3 ค.ศ. 1138 - 1198 (สมัย 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร) 
ช่วงที่ 4 ค.ศ. 1368 - 1620 (รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ ยุคต้นราชวงศ์หมิง)

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

    กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ 

 - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด 

 - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม 

- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว 

- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ 

- มีความคิดและความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

    กล่าวโดยสรุป กำแพงเมืองจีนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน และยังเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง แม้ว่าในปัจจุบันจะเหลือเพียงแค่ 1 ใน 3 จากกำแพงทั้งหมด แต่ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมจนได้รับการพิจาราณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก และยังถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

บรรณานุกรม

ชญานี สุวรรณรัตน์. (2554). กำแพงเมืองจีน. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563,  
          จาก https://sites.google.com/site/pisatowernin/
สมฤทธิ์ บัวระมวล. (2547). 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คุ้มคำ
สันติ สัมปิติกิตติพร. (2562). ตะลุยเมืองจีน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดีพลัส ไกด์

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

ลุมพินีวัน

  ลุมพินีวัน

ข้อมูลเที่ยวเนปาล : ลุมพินีวัน ( Lumbini Vana)
ภาพที่ 1 ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ที่มา https://www.thaifly.com/


        ลุมพินีวัน เป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถานแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ภายนอกประเทศอินเดีย เป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ซึ่งลุมพินีวันได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ในปีพ.ศ. 2540 อีกด้วย โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

    ที่ตั้ง

        สวนลุมพีนีตั้งอยู่ในเขตประเทศเนปาล ใกล้บริเวณชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ห่างจากสิทธราถนคร (หรือกรุงเทวหะ) ไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากเมืองติเราลาโกต (หรือกรุงกบิลพัสดุ์) ไปทางตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามพุทธประวัติที่ว่าลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงเทวหะและกรุงกบิลพัสดุ์ 

lumbini-map
ภาพที่ 2 แผนที่แสดงที่ตั้งของลุมพินีวันในปัจจุบัน
ที่มา https://fafatravel.com/2016/08/16/lumbini-pilgrimage/


     ลุมพินัวันสมัยพุทธกาล

            ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันตั้งอยู่ในชมพูทวีป อยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงเทวหะ ซึ่งมีพระเจ้าชนาธิปปกครอง และกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งมีพระเจ้าสุทโทธนะปกครอง เป็นอุทยานราบลุ่ม มีความร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททขนิกาย อปทาน หลังจากการประสูติของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ได้ปรากฎหลักฐานว่าพระพุทธองค์เสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้

 
1.การประสูติ - tmmt187490
ภาพที่ 3 การประสูติของพระพุทธเจ้า ณ ลุมพินีวัน
ที่มา https://sites.google.com/site/tmmt187490/1-kar-prasuti


    ลุมพินีวันหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

            หลังพุทธปรินิพพาน ได้มีการนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่หนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันมากนัก เมื่อพ.ศ. 294 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมานมัสการสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระองค์โปรดให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนำทางและชี้จุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ และทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆเลย
            ประมาณพ.ศ. 900 สมณะฟาเหียน ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวจีนได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวเพียงสั้นๆว่า ได้เพียงสระน้ำสรงสนานระบุที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุ์ว่าอยู่ห่างจากลุมพินีวันเพียง 14-16 กิโลเมตร
            พ.ศ.1181 พระถั๋งซัมจั๋ง พระภิกษุชาวจีนได้เดินทางมายังลุมพินีวัน ได้จดบันทึกรายละเอีดต่างๆของลุมพินีวันไว้ว่ามีสรงสนานเช่นเดียวกับสมณะฟาเหียน และมีต้นสาละต้นหนึ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ มีเจดีย์องค์หนึ่ง และยังพบเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชอีกเช่นกัน
            พ.ศ. 2438-2439  เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมและคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมีระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ

ไฟล์:Xuanzang w.jpg
ภาพที่ 4 พระถั๋งซัมจั๋ง พระจีนที่เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Xuanzang_w.jpg

เสาอโศก จากประวัติศาสตร์สู่ตราแผ่นดินแห่งอินเดีย – South Asian Studies  Center
ภาพที่ 5 เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
ที่มา https://cusas.wordpress.com/
 

       จุดแสวงบุญและลุมพินีวันในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี วิหารมายาเทวี ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส อายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก
                ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก ซึ่งเป็นดำริของ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

ภาพที่ 6 สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Maya_Devi_temple-Nepal.JPG

ภาพที่ 7 วัดพุทธของชาวจีนบรืเวณลุมพินีวัน ใช้เป็นที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนชาวจีน
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Lumbini_2.jpg

        กล่าวโดยสรุป ลุมพินีวันเป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล และเป็นสังเวชนียสถานแห่งเดียวที่ตั้งอยู่นอกประเทศอินเดีย ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก มีความสำคัญเนื่องจากเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอีกด้วยเช่นกัน
               

    บรรณานุกรม

ดนัย ไชยโยธา, สุคนธ์ สินธพานนท์ และสุริวัตร จันทร์โลกา. (2559). หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา

           ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

บริษัทพุทธประทีบทัวร์ จำกัด. (2561). ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า. 

         ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563, จาก http://www.phutthapratiptravel.com/

วิทย์ วิศทเวทย์ และเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2556). หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ม.1

          กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...