จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ศิลปะบาโรก

  ศิลปะบาโรก

ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก
ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-centuries/xxie/2005-2007.html


   
ศิลปะบาโรก (Baroque) เกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16  สืบต่อเนื่องจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่เน้นความโอ่อ่า หรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยมีงานศิลปะหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม สถาปัตยกรรม ดนตรีทและวรรณกรรม ที่จะกล่าวรายละเอียด ดังนี้

ลักษณะของศิลปะบาโรก

    ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะของรูปแบบศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแห่งปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงที่บิดผันจนเกินงามหรือประณีต บรรจงเกินไป เน้นมีรูปแบบอลังการ โอ่อ่า หรูหรา ฟุ้งเฟ้อ และแววับด้วยสีทอง และศิลปะบาโรกก็ยังถูกพัฒนาไปเป็นศิลปะแบบโรโกโก (Rococo)

จิตกรรมแบบบาโรก

    มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสง เงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็น 3 มิติ มีจิตรกรที่สำคัญ ได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ (Michelangelo da Caravaggio ; ค.ศ. 1573-1610) ชาวอิตาลี เรมบันต์ (Rembrandt ; ค.ศ. 1606-1669) ชาวดัชต์ และพีเตอร์ พอล รูเบนส์ (Peter Paul Rubens ; ค.ศ. 1577-1644) ชาวเฟลมิช ตัวอย่างจิตกรรมแบบบาโรก เช่น ยาม ยกกางเขน คนดูไพ่ เป็นต้น

ภาพที่ 2 "การเฝ้ายามกลางคืน" ผลงานของเรมบันต์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/The_Nightwatch_by_Rembrandt_-_Rijksmuseum.jpg

ภาพที่ 3 ยกกางเขน ผลงายของพีเตอร์ พอล รูเบนส์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Peter_Paul_Rubens_-_De_kruisoprichting.JPG

สถาปัตยกรรมแบบาโรก

    นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่า โอฬารเกินความจำเป็น ในฝรั่งเศสถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความสุขและความหรูหราแก่ชนชั้นสูง เช่น การออกแบบพระราชวังแวร์ซายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นต้น

ภาพที่ 4 พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Palace_of_Versailles

ดนตรีแบบบาโรก

    นิยมเน้นความอ่าอ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพื่อให้เกิดสีสันและอรรถรสในการรับฟัง และมีการเริ่มใช้นันไดเสียง สังคีตกวีในยุคนี้ ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี (Antonio Vivaldi ; ค.ศ. 1675-1741) ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกในการประพันธ์เพลงประเภทคอนแชร์โต โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach ; ค.ศ. 1685-1750) ชาวเยอรมัน เป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในยุคบาโรก ซึ่งมีผลงานส่วนใหญ่ใช้สำหรับพิธีการทางศาสนา

ภาพที่ 5 โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/JSBach.jpg

วรรณกรรมแบบบาโรก

    มีลักษณะเป็นเรื่องที่เขียนเกินจริง วรรณกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค (John Locke ; ค.ศ. 1632-1704) ชาวอังกฤษและผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ (Moliere) เป็นต้น


ภาพที่ 6 จอห์น ลอค
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/John_Locke.jpg

    กล่าวโดยสรุป ศิลปะบาโรกเริ่มขึ้นหลักจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมลงในคริสต์ศตวรรษที่ 18  มีลักษณะที่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย มีผลงานจิตกรรมที่เด่นๆ เช่น ยกกางเขน ซึ่งเป็นผลงานของพีเตอร์ พอล รูเบนส์ เป็นต้น สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เช่น พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น มีสังคีตกวีที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลโตนิโอ วีวัลดี และโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เป็นต้น และวรรณกรรมที่มีเนื้อหากล่าวเกินจริง

บรรณานุกรม

ไพฑูรย์ มีกุล. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2  (พิมพ์ครั้งที่ 1). 

          กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. 

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สุชาติ เถอทอง, สังคม ทองมี และธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์. (2551). หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ม.5

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

สำเร็จ คำโมง, สุดใจ ทศพร, ณรงค์ ปิฏกรัชต์, มรฑา กิมทอง และชนินทร์ พุ่มศิริ. (2556). หนังสือเรียน

ดนตรี ม.4 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

เอมอร กาศสกุล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรม

           แบบบาโรก. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก http://www.ngwk.ac.th/web/social/em-orn/west-

culture/page9.htm

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สงครามร้อยปี (สงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส)

 สงครามร้อยปี (สงครามอังกฤษ-ฝรั่งเศส)

ภาพที่ 1 ภาพวาดสงครามร้อยปี 
ที่มา https://www.facebook.com/HistoryOnTimeline/photos/


        สงครามร้อยปี เป็นสงครามระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส โดยเหตุการณ์นี้อยู่ในช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1337-1453 ซึ่งมีระยะเวลาทั้งหมด 116 ปี เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้รูปแบบการเมืองและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือแคว้นมาเป็นความขัดแย้งระหว่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่

สาเหตุของสงคราม

    1. ความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส นับตั้งแต่วิลเลียม ดุ๊ก แห่งแคว้นนอร์มองดี ซึ่งเป็นข้าติดที่ดินของกษัตริย์ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษใน ค.ศ. 1066 นับตั้งแต่นั้นมากษัตริย์อังกฤษก็มีที่ดินในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ยังคงพยายามช่วงชิงดินแดนดังกล่าวกลับคืนมาจากกษัตริย์อังกฤษ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 อังกฤษก็มีดินแดนเพียงไม่กี่แห่งในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส 
    2. สิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 (Edward III ค.ศ. 1327-1377) กษัตริย์อังกฤษส่งอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของฝรั่งเศส เนื่องจากพระองค์มีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศส แต่ขุนนางฝรั่งเศสกับเลือกพระเจ้าฟิลิปที่ 6 (Philip VI ค.ศ. 1328-1350) เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส 
    3. อังกฤษต้องการผนวกสกอตแลนด์ แต่สกอตแลนด์ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสให้ต่อต้านอังกฤษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจฝรั่งเศส 
    4. ในด้านเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสได้พยายามขัดขวางความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างอังกฤษกับแคว้นฟลานเดอร์ (ประเทศเบลเยี่ยมในปัจจุบัน) และฝรั่งเศสได้พยายามขัดขวางอังกฤษในการเข้ายึดครองแคว้นกาสโกนีเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการค้า 
    5. สาเหตุจากภายในประเทศ เนื่องจากกษัตริย์ทั้งสองประเทศกำลังประสบปัญหาการขยายอำนาจของขุนนาง จึงต้องการใช้สงครามระหว่างประเทศดึงความสนใจของขุนนางและประชาชน

ภาพที่ 2 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1327-1377)
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/King_Edward_III_(retouched).jpg

ภาพที่ 3 พระเจ้าฟิลิปที่ 6 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1328-1350)
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Robert-Fleury_-_Philip_VI_of_France.jpg

สถานการณ์ของสงคราม

    ในช่วงระยะเวลาสงครามร้อยปี  อังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำสงครามกันเป็นระยะๆ โดยอังกฤษเป็นฝ่ายโจมตีฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสพยายามต่อต้าน แต่ก็ทำอังกฤษก็สามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสได้ ทำให้ฝรั่งเศสต้องทำสัญญาสันติภาพกับอังกฤษใน ค.ศ. 1358 โดยอังกฤษได้ครอบครองดินแดนในฝรั่งเศสหลายแห่งด้วยกัน และยังได้รับเงินค่าไถ่องค์พระเจ้าจอห์นที่ 2 (John II ค.ศ. 1305-1364) กษัตริย์ฝรั่งเศสที่ถูกจับตัวเป็นเชลยศึกด้วย ในขณะเดียวกันอังกฤษก็ยอมยกเลิกการอ้างสิทธิในตำแหน่งกษัตริย์ฝรั่งเศส หลังจากสงครามทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสก็ต่างต้องเผชิญกับปัญหาโรคระบาดและความไม่สงบภายในประเทศ ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษในประเทศฝรั่งเศสได้ทำการต่อต้านอังกฤษ พร้อมกับขอให้ฝรั่งเศสมาเกี่ยวข้องด้วย สงครามได้เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1370 ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ 5 (Charles V ค.ศ. 1364-1380) สงครามระยะนี้กองทัพฝรั่งเศสได้เปรียบในการรบ จนในที่สุดอังกฤษก็เหลือดินแดนในประเทศฝรั่งเศสเพียงเล็กน้อย 
    หลังสงครามสงบ ฝรั่งเศสต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างฝ่ายต่อต้านอังกฤษกับฝ่ายนิยมอังกฤษ ในที่สุดฝ่ายนิยมอังกฤษก็เป็นฝ่ายชนะ ทำให้ประเทศสงบศึกกันนานกว่า 2 ทศวรรษ แต่อังกฤษก็ยังคงแทรกแซงทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศสและเกิดสงครามขึ้นเป็นระยะๆ กองทัพอังกฤษรุกรานฝรั่งเศส แต่กองทัพฝรั่งเศสก็มีวีรสตรีโจนออฟอาร์ค (Joan of Arc) เป็นผู้นำทัพ จึงสามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษได้ที่เมืองออร์เออง (Orleans ค.ศ. 1429) และเอาชนะอังกฤษได้ในหลายครั้ง ในปีต่อมา โจนถูกจับตัวโดยฝ่ายสนับสนุนอังกฤษ ถูกดำเนินคดีในศาลศาสนา และถูกเผาทั้งเป็นในค.ศ. 1430 วีรกรรมของโจนได้ก่อให้เกิดความคิดเรื่องชาตินิยมในหมู่ชาวฝรั่งเศสอย่างรุนแรง 
    หลังจากนั้นกองทัพฝรั่งเศสได้ทำการยึดดินแดนกลับคืนจากอังกฤษได้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสงครามยุติลงในค.ศ. 1453

ภาพที่ 4 โจนออฟอาร์กกู้เมืองออร์เลียงส์
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Lenepveu,_Jeanne_d'Arc_au_sians.jpg


ภาพที่ 5 กองทัพอังกฤษและกองทัฟฝรั่งเศสกำลังทำสงครามกัน
ที่มา http://pongsarinya.myreadyweb.com/article/topic-66441.html

ผลของสงคราม

1. ฝรั่งเศสชนะสงคราม 
2. อังกฤษเสียดินแดนในพื้นที่ของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมดยกเว้น เมืองกาเล 
3. กษัตริย์อังกฤษถูกจำกัดอำนาจในการปกครอง 
4. การเริ่มต้นของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศส 
5. จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

ภาพที่ 6 เมืองกาเล (calais) ประเทศฝรั่งเศส
ที่มา https://www.budgetyourtrip.com/france/calais 
 

ผลกระทบของสงครามร้อยปี

ผลกระทบต่อประเทศอังกฤษ 
1. กษัตริย์อังกฤษหันมาสนพระทัยกิจการภายในประเทศและการค้ากับดินแดนโพ้นทะเลมากขึ้น 
2. รัฐสภาในอังกฤษได้มีอำนาจเพิ่มขึ้นในการต่อรองกับกษัตริย์ เนื่องจากสงครามทำให้รัฐบาลต้องการเงิน จึงมีการต่อรองเพื่อให้รัฐสภาผ่านความเห็นชอบงบประมาณที่ใช้ในการทำสงคราม ทำให้รัฐสภามีอำนาจมากขึ้น 
3. เกิดชาตินิยมในหมู่ชาวอังกฤษจากชัยชนะของกองทัพอังกฤษ ในขณะเดียวกันกษัตริย์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้นจากการสนับสนุนของชาวอังกฤษในการต่อต้านต่างชาติ 
4. ขุนนางเสียชีวิตและยากจนลง ทำให้กษัตริย์อังกฤษสามารถรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางได้สำเร็จ 

ผลกระทบต่อฝรั่งเศส 
1. เป็นการส่งเสริมอำนาจเด็ดขาดให้แก่กษัตริย์ฝรั่งเศสในการปรับปรุงกองทัพเพื่อปราบปรามขุนนางและทำสงครามกับต่างชาติ 
2. รัฐสภาได้ยอมรับอำนาจของสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นจนพัฒนากลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในเวลาต่อมา 
3. การทำให้เกิดชาตินิยมในหมู่ของชาวฝรั่งเศส โดยเฉพาะแนวคิดความเป็นชาติเดียวกัน วีรกรรมของโจนออฟอาร์คกลายเป็นตำนานของชาวฝรั่งเศสมานานนับศตวรรษจนถึงปัจจุบัน

    กล่าวโดยสรุป สงครามร้อยปี (ค.ศ. 1337-1453) เป็นสงครามระหว่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้รูปแบบการเมืองและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และยังเป็นต้นกำเนิดของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ โดยส่วนมากอังกฤษจะเป็นฝ่ายโจมตีฝรั่งเศส แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถรบชนะอังกฤษได้ และมีตำนานโจนออฟอาร์คซึ่งเป็นตำนานดังของฝรั่งเศสมานานนับศตวรรษจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

ณรงค์ พ่วงพิศ, วุฒิชัย มูลศิลป์, สัญชัย สุวังบุตร, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และชาคริต ชุ่มวัฒนะ. (2555).  
          หนังสือเรียน ประวัติศาสตร์ ม.3 (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. 
          จำกัด. 
ทสมล ชนาดิศัย. (2561). อัจฉริยะ 100 หน้า สงคราม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอัมรินทร์
          พริ้นติ้งแอนด์พลิบบัชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 
ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. (2558). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 
          (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. 
ไพฑูรย์ มีกุล. (2552). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.4-6 เล่ม 2  (พิมพ์ครั้งที่ 1). 
          กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. 
สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริต ชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ์ และวุฒิชัย มูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 
          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2563

กำแพงเมืองจีน

 กำแพงเมืองจีน

ภาพที่ 1 กำแพงเมืองจีน
ที่มา https://travel.trueid.net/detail/23VAk0vBAPRQ

    จีน เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังต้องห้าม จัตุรัสเทียนอันเหมิน สุสานทหารม้า และอีมากมาย แต่มีอีกสถานที่หนึ่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กำแพงเมืองจีน ถือได้ว่ากำแพงเมืองจีนเป็นอีกสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สำคัญของจีน และเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

ภาพที่ 2 ป้อมปราการบนกำแพงเมืองจีน
ที่มา http://www.akcsys.org/master/index.php?topic=619.0

    กำแพงเมืองจีน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กำแพงหมื่นลี้" เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจีน และเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งของจีน มีความยาวทั้งหมด 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย เทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร มีความกว้าง 5 เมตร ทุกๆ 300-500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้เป็นจุดสังเกตการณ์และสับเปลี่ยนเวรยาม ปัจจุบันเห็นได้เพียง 1 ใน 3 ของกำแพงทั้งหมดเท่านั้น เพราะขาดการดูแลและการอนุรักษ์ของรัฐบาลจีน

ประวัติ

    
ภาพที่ 3 กำแพงเมืองจีนในสมัยราชวงศ์ฉิน
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Great_Wall_of_China_location_map.PNG

    กำแพงเมืองจีนถูกสร้างราวประมาณ 2,500 ปีก่อน ชาวจีนมักถูกชนเผ่าเร่ร่อนทางเหนือรุกรานบ่อยครั้ง นั่นคือ ชนเผ่าซยงหนู ชาวจีนจึงสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อป้องกันการรุกราน แต่ในระยะแรกไม่ได้มีการสร้างเชื่อมกำแพงเข้าเป็นแนวเดียวกัน จนกระทั่งในรัชสมัยของจักพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ (ครองราชย์ 221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จึงมีการเชื่อมกำแพงเมืองจีนเข้าเป็นแนวเดียวกัน ถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

ระยะเวลาในการสร้าง

    แบ่งได้ออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 205 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ราชวงศ์ฉิน) 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก 
ช่วงที่ 2 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ราชวงศ์ฮั่น) 
ช่วงที่ 3 ค.ศ. 1138 - 1198 (สมัย 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร) 
ช่วงที่ 4 ค.ศ. 1368 - 1620 (รัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิหงอู่ ยุคต้นราชวงศ์หมิง)

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

    กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ 

 - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด 

 - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม 

- เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว 

- เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ 

- มีความคิดและความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

    กล่าวโดยสรุป กำแพงเมืองจีนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน และยังเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง แม้ว่าในปัจจุบันจะเหลือเพียงแค่ 1 ใน 3 จากกำแพงทั้งหมด แต่ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมจนได้รับการพิจาราณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก และยังถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์แห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

บรรณานุกรม

ชญานี สุวรรณรัตน์. (2554). กำแพงเมืองจีน. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2563,  
          จาก https://sites.google.com/site/pisatowernin/
สมฤทธิ์ บัวระมวล. (2547). 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คุ้มคำ
สันติ สัมปิติกิตติพร. (2562). ตะลุยเมืองจีน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดีพลัส ไกด์

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

ลุมพินีวัน

  ลุมพินีวัน

ข้อมูลเที่ยวเนปาล : ลุมพินีวัน ( Lumbini Vana)
ภาพที่ 1 ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ที่มา https://www.thaifly.com/


        ลุมพินีวัน เป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถานแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ภายนอกประเทศอินเดีย เป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ซึ่งลุมพินีวันได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ในปีพ.ศ. 2540 อีกด้วย โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

    ที่ตั้ง

        สวนลุมพีนีตั้งอยู่ในเขตประเทศเนปาล ใกล้บริเวณชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ห่างจากสิทธราถนคร (หรือกรุงเทวหะ) ไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากเมืองติเราลาโกต (หรือกรุงกบิลพัสดุ์) ไปทางตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามพุทธประวัติที่ว่าลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงเทวหะและกรุงกบิลพัสดุ์ 

lumbini-map
ภาพที่ 2 แผนที่แสดงที่ตั้งของลุมพินีวันในปัจจุบัน
ที่มา https://fafatravel.com/2016/08/16/lumbini-pilgrimage/


     ลุมพินัวันสมัยพุทธกาล

            ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันตั้งอยู่ในชมพูทวีป อยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงเทวหะ ซึ่งมีพระเจ้าชนาธิปปกครอง และกรุงกบิลพัสดุ์ซึ่งมีพระเจ้าสุทโทธนะปกครอง เป็นอุทยานราบลุ่ม มีความร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททขนิกาย อปทาน หลังจากการประสูติของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ได้ปรากฎหลักฐานว่าพระพุทธองค์เสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้

 
1.การประสูติ - tmmt187490
ภาพที่ 3 การประสูติของพระพุทธเจ้า ณ ลุมพินีวัน
ที่มา https://sites.google.com/site/tmmt187490/1-kar-prasuti


    ลุมพินีวันหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

            หลังพุทธปรินิพพาน ได้มีการนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่หนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันมากนัก เมื่อพ.ศ. 294 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมานมัสการสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พระองค์โปรดให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนำทางและชี้จุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ และทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆเลย
            ประมาณพ.ศ. 900 สมณะฟาเหียน ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวจีนได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวเพียงสั้นๆว่า ได้เพียงสระน้ำสรงสนานระบุที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุ์ว่าอยู่ห่างจากลุมพินีวันเพียง 14-16 กิโลเมตร
            พ.ศ.1181 พระถั๋งซัมจั๋ง พระภิกษุชาวจีนได้เดินทางมายังลุมพินีวัน ได้จดบันทึกรายละเอีดต่างๆของลุมพินีวันไว้ว่ามีสรงสนานเช่นเดียวกับสมณะฟาเหียน และมีต้นสาละต้นหนึ่งซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่พระพุทธเจ้าประสูติ มีเจดีย์องค์หนึ่ง และยังพบเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชอีกเช่นกัน
            พ.ศ. 2438-2439  เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมและคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมีระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ

ไฟล์:Xuanzang w.jpg
ภาพที่ 4 พระถั๋งซัมจั๋ง พระจีนที่เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดีย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Xuanzang_w.jpg

เสาอโศก จากประวัติศาสตร์สู่ตราแผ่นดินแห่งอินเดีย – South Asian Studies  Center
ภาพที่ 5 เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช
ที่มา https://cusas.wordpress.com/
 

       จุดแสวงบุญและลุมพินีวันในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี วิหารมายาเทวี ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส อายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก
                ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก ซึ่งเป็นดำริของ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า

ภาพที่ 6 สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Maya_Devi_temple-Nepal.JPG

ภาพที่ 7 วัดพุทธของชาวจีนบรืเวณลุมพินีวัน ใช้เป็นที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนชาวจีน
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/:Lumbini_2.jpg

        กล่าวโดยสรุป ลุมพินีวันเป็น 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล และเป็นสังเวชนียสถานแห่งเดียวที่ตั้งอยู่นอกประเทศอินเดีย ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก มีความสำคัญเนื่องจากเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นที่แสวงบุญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกอีกด้วยเช่นกัน
               

    บรรณานุกรม

ดนัย ไชยโยธา, สุคนธ์ สินธพานนท์ และสุริวัตร จันทร์โลกา. (2559). หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา

           ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

บริษัทพุทธประทีบทัวร์ จำกัด. (2561). ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า. 

         ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563, จาก http://www.phutthapratiptravel.com/

วิทย์ วิศทเวทย์ และเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2556). หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ม.1

          กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมัน

 สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมัน

Thermae - Wikipedia
ภาพที่ 1 สถานที่อาบน้ำสาธารณะของชาวโรมันในประเทศอังกฤษ
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Thermae.jpg


       ในสมัยก่อน ย้อนกลับไปยุคโรมันมีสถานที่ต่างๆที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโคลอสเซียม สะพานส่งน้ำ หรือสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานที่อาบน้ำสาธารณะ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้

ประวัติความเป็นมา


Romans in Britain - Romans at Work
ภาพที่ 2 ภาพจินตนาการขณะที่ชาวโรมันกำลังอาบน้ำ
ที่มา https://www.romanobritain.org/11_work/raw_romans_at_work.php

    
สถานที่อาบน้ำสาธารณะหรือเธอเม (Thermae) แปลว่าร้อนในภาษากรีก ใช้สำหรับเรียกชื่ออาคารสถานที่ที่ใช้อาบน้ำแลออกกำลังกายในร่มของชาวโรมัน ในสมัยต้นอาณาจักร จะถูกสร้างอย่างวิจิตร หรูหรา และฟุ่มเฟือย เนื่องจากโรงอาบน้ำเป็นที่บำรุงความสุขของคนและคนส่วนน้อยที่ร่ำรวยเท้านั้นจึงจะเป็นเจ้าของได้ เพราะการอาบน้ำจะทำไปพร้อมการอบตัว

โครงสร้าง


The Roman Baths Spa | Anna Bowkis Photography
ภาพที่ 3 เสาแบบทัสคันในสถานที่อาบน้ำสาธารณะ
ที่มา https://www.annabowkisphotography.com/the-roman-baths-spa/

    แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ ได้แก่ Sacred Springs, Roman Temple, Bath House และพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ อาคารเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโรมัน มีเสาโรมันในรูปแบบของทัสคัน ใช้ระบบการก่อสร้างแบบอาร์คกับโวลท์ และใช้คอนกรีตเป็นโครงสร้างหลัก

การใช้ประโยชน์

The Roman Emperor Caracalla inspecting public baths he had built stock  image | Look and Learn
ภาพที่ 4 ภาพจินตนาการของโรมันกำลังพบปะกัน ณ สถานที่อาบน้ำสาธารณะ
ที่มา https://www.lookandlearn.com/history-images/The-Roman-Emperor-Caracalla

    ใช้เป็นสถานที่อาบน้ำชำระร่างกาย ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พักผ่อน มีโรงมหรสพ สำหรับให้คนทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ นอกจากจะใช้เป็นที่อาบน้ำและอาบตัวแล้ว ในบางครั้งอาจใช้เป็นที่พบปะ ประชุม พูดคุย ถกกันในเรื่องต่างๆของทุชนชั้น


    กล่าวโดยสรุป สถานที่อาบน้ำสาธารณะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวโรมัน มีสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมของชาวโรมันโดยเฉพาะ คือหัวเสาแบบทัสคัน นอกจากจะใช้เป็นที่อาบน้ำแล้ว ยังสามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พักผ่อน พบปะ ประชุม ได้อีกเช่นกัน


บรรณานุกรม

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

Talon Tiew. (2560). โรงอาบน้ำโบราณ The Roman Bath. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563, 

          จาก https://www.talontiew.com/the-roman-bath/

108TRIPS. (2561). โรมันบาธ Roman Baths. ค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563, 
           จาก https://www.108trips.com/blog-1597

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

 นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก

มารู้จัก แคลคูลัส การ ประยุกต์ ใช้ แคลคูลัสในงานต่าง – Tuemaster  เรียนออนไลน์ ม.ปลาย
ภาพที่ 1 แคลคูลัส เป็นมรดกทางคณิตศาสตร์ของชาวกรีกโบราณ
ที่มา https://tuemaster.com/blog/17257/

    คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลข การคำนวนต่างๆ ซึ่งเรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้หลายด้าน ตลอดจนได้บรรจุไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา โดยที่ในบางเรื่องเป็นมรดกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรีก เช่น เรขาคณิต สามเหลี่ยมมุมฉาก การหาค่าหารร่วมมาก(ห.ร.ม.) หารหาค่าคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) แคลคูลัส เป็นต้น ซึ่งมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่ได้คิดทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

เธลีส (626-548 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

เธลีส - วิกิพีเดีย
ภาพที่ 2 เธลิส
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/Thales.jpg


    
เธลีส เป็นชาวเมืองมิเลทัส ในปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี โดยเฑลีสคนแรกที่นำคำนวนหาความสูงของพีระมิดในอียิปต์โดยใช้เงา รู้จักพิสูจน์ทฤษฎีบททางเรขาคณิต เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางจะแบ่งครึ่งวงกลม มุมที่ฐานของรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเท่ากัน และมุมในครึ่งวงกลมเป็นมุมฉาก เป็นต้น 

พีทาโกรัส (570-495 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ประวัติปีทาโกรัส - บทเรียนออนไลน์ ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
ภาพที่ 3 พีทาโกรัส
ที่มา https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/pythagoras/--haelng-reiyn-ru/--prawati-pi-tha-ko-ras


    พีทาโกรัส เกิดที่เกาะซามอส แห่งทะเลอีเจียน ใกล้กับเอเชียไมเนอร์  เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางพีทาโกเรียน และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก" ซึ่งทฤษฎีทั้ง 2 นี้ เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ พีทาโกรัสยังเป็นลูกศิษย์ของเธลีสอีกด้วย

บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส: การพิสูจน์บทกลับพีทาโกรัส
ภาพที่ 4 สามเหลี่ยมของทฤษฏีบทพีทาโกรัส
ที่มา http://natthasit2545.blogspot.com/p/blog-page_79.html


ยูคลิด (325-270 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

ยูคลิด - ArtistMath
ภาพที่ 5 ยูคลิด
ที่มา https://sites.google.com/site/artistmath/nak-khnit-sastr/yu-khlid


    
ยูคลิดแห่งอเล็กซานเดรีย เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรียยุคกรีกโบราณต่อจากเพลโตและก่อนหน้าอาค์คีมีดีส ผลงานที่สำคัญคือ หนังสือ Elements มีทั้งหมด 13 เล่ม มีเนื้อหาสว่นใหญ่เป็นทฤษฎีบทเรขาคณิต พีชคณิตเบื่องต้น  เรขาคณิตเชิงพีชคณิตเบื้องต้น และทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ที่เป็นต้นแบบของระบบคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน และหนังสือตำราเรขาคณิต Division of Figures, Data และ P้hacnomena 

อาร์คีมีดีส (287-212 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

บิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก-อาร์คิมิดีส (Archimedes) - วิทยาศาสตร์ ...
ภาพที่ 6 อาร์คีมีดีส
ที่มา https://sites.google.com/site/withyasastrscince35/aa


    อาร์คีมีดีส เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคโบราณ ผลงานด้านคณิตศาสตร์ของอาร์คีมีดีสที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน เช่น หนังสือที่ว่าด้วยดุลยภาพของระนาบที่ใช้คำนวนพื้นที่และจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุ
รูปต่างๆ หนังสือที่ว่าด้วยการวัดวงกลมที่อาร์คีมีดีสแสดงให้เห็นว่าค่า  π (พาย) มีค่ามากกว่า 223/71 แต่น้อยกว่า 22/7 หนังสือวงก้นหอยอาร์คีมีดีสที่เกี่ยวกับเส้นโค้งที่เกิดจากจุดเคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังเขายังเป็นผู้คิดค้นปริมาตรของรูปทรงต่างๆ ทั้งทรงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ภาคตัดกรวย รวมทั้งคิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากการหมุน ผลงานของอาร์คีมีดีสมีอิทธิพลต่อวงการคณิตศาสตร์อย่างมากตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน

ชุดกิจกรรม "ภาคตัดกรวย" โดย ครูนุชนาถ วงษ์พรไพโรจน์
ภาพที่ 7 ภาคตัดกรวย
ที่มา http://nutchanat.rwb.ac.th/

    กล่าวโดยสรุป คณิตศาสตร์ในบางเรื่องเป็นหนึ่งในอารยธรรมของชาวกรีก โดยมีนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่สำคัญ เช่น เธลีส พีทาโกรัส ยูคลิด อาร์คีมีดีส เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์อารยธรรมกรีกโดยใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาของมนุษย์ และผลงานของพวกเขายังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

บรรณานุกรม

นิยม โงนรี. (2562). ยูคลิด. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
นิยม โงนรี. (2562). อาร์คีมีดีส. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.sts.ac.th/math/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). หนังสือเรียน 

          ประวัติศาสตร์สากล ม.4-6กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.




วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผลงานของชาวสุเมเรียน

 ผลงานของชาวสุเมเรียน

เมโสโปเตเมีย Mesopotamia: สุเมเรียน Sumerian
ภาพที่ 1 ภาพแกะสลักชาวสุเมเรียน
ที่มา http://mesopotamia2018.blogspot.com/2018/07/blog-post.html

        ชาวสุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมียที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอิรักและบางส่วนของอิหร่าน โดยบริเวณที่ชาวสุเมเรียนตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นมีชื่อเรียกว่า "ซูเมอร์" โดยชาวสุเมเรียนได้สร้างสรรค์อารยธรรมที่เป็นผลงานโดดเด่นของตนไว้ดังนี้

อักษรคูนิฟอร์ม

คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หนึ่งในระบบอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลก
ภาพที่ 2 อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม
ที่มา https://www.historyontimeline.info/single-post/Cuneiform0

    อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม เป็นหนึ่งในระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยชาวสุเมเรียนไปผู้ประดิษฐ์ขึ้นมา เมื่อประมาณราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรกมีลักษณะเป็นอักษรภาพ โดยใช้ไม้ปลายแหลมจากที่ทำจากต้นอ้อ กดเป็นรูปภาพง่ายๆลงบนดินเหนียวและนำไปตากแห้งด้วยความร้อน เช่น รูปปลาแทนความหมายว่าปลา บางรูปก็สามารถใช้แทนการแสดงกิริยาได้ เช่น เท้าแทนการเดิน เป็นต้น ในเวลาต่อมา มีการใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการอธิบายคำที่เป็นนามธรรมและเป็นตัวอักษรที่ใช้แทนลัญลักษณ์เรขาคณิต ตัวอักษรลิ่มของสุเมเรียนยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติอื่นๆ นอกจากใช้ในการทำบัยชีแล้ว ยังถูกนำไปใช้ในบทบัญญัติทางศาสนาและงานวรรณกรรมอีกเช่นกัน


ซิกกูแรต

ซิกกุรัต อารยธรรมดวงจันทร์
ภาพที่ 3 ซิกกูแรตแห่งเมืองอูร์ ประเทศอิรัก
ที่มา https://www.ufocia.com/2018/08/blog-post_57.html


    
ซิกกูแรต เป็นสิ่งที่แสดงใหห้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาของชาวสุเมเรียน มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมขนาดใหญ่ คล้ายกับภูเขาซึ่งเป็นสิ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดตามธรรมชาติ ใช้เป็นเทวสถานในการบูชาเทพเจ้าหรือเทพประจำเมืองเพื่อไม่ให้พระองค์ทรตงขุ่นเคืองและลงทัณฑ์มนุษย์ด้วยภัยต่างๆ เพราะชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมารับใช้พระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ซิกกูแรตยังเป็นที่สอนหนังสือให้แกนักบวชรุ่นเยาว์ เพื่อให้มีความรู้ต่างๆและอ่านออกเขียนได้

วรรณกรรม "มหากาพย์กิลกาเมซ"

มหากาพย์กิลกาเมช - วิกิพีเดีย
ภาพที่ 4 จารึกมหากาพย์กิลกาเมซ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/GilgameshTablet.jpg


    
มหากาพย์กิลกาเมช เป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นเรื่องราวผจญภัยของกิลกาเมซ ประมุขและวีรบุรุษแห่งอุรุก มีอยู่ชีวิตอยู่ในราว 2,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งต่อมาตกทอดไปยังพวกบาบิโลนและเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยมีเนื้อเรื่องโดยย่อคือ กิลกาเมซพยายามแสวงหาชีวิตอมตะ แต่ล้มเหลวและไม่สามารถเอาชนะชะตาชีวิตของตนได้เพราะความตายและมนุษย์เป็นสิ่งคู่กัน และในมหากาพย์กิลกาเมซยังปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ ดังที่เกิดขึ้นในพันธสัญญาเก่าของชาวฮิบรูด้วย

จานหมุน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 - social studies
ภาพที่ 5 รถศึกใช้ลาลากของนักรบแห่งอูร์
ที่มา https://sites.google.com/site/socialstudiess33101/phakh-reiyn/


    
มรดกทางวัฒธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของชาวสุเมเรียน คือ การประดิษฐ์จานหมุน มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการปั้นภาชนะดินเผา ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นเครื่องกลชนิดแรกของโลก และนอกจากนี้พวกสุเมเรียนยังได้สร้างวงล้อที่ติดกับเพลาเพื่อใช้กับเกวียนและรถศึก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักรบบนรถศึกสามารถใช้อาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์


เปิดประตูสู่อารยธรรมโลก
ภาพที่ 6 การทำบัญชีของชาวสุเมเรียน
ที่มา http://wl.mc.ac.th/s32102/book1-1.htm

    ความรู้ความสามารถของชาวสุเมเรียนในเชิงคณิตศาสตร์ คือการรู้จักนำระบบฐานเลข 60 ในการแบ่งเวลาและมุม การคำนวนพื้นที่ของวงกลม การหาระยะทาง การคำนวณ ดารคิดมาตราชั่งตวงวัดและการนับปีเดือนแบบจันทรคติ นอกจากนี้ชาวสุเมเรียนยังมีการบัญชีเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย
สุเมเรียน - อารยธรรมตะวันตกยุคโบราณ
ภาพที่ 7 ปฏิทินของชาวสุเมเรียน
ที่มา https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/xarythrrm-tawan-tk-yukh-boran/xarythrrm-krik/sumerians

    ในส่วนของด้านดาราศาสตร์ชาวสุเมเรียนยังสนใจศึกษาและจดบันทึกการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ โดยเชื่อว่าการโคจรดังกล่าวเกิดจากการกระทำของพระเจ้าและีอิทธิพลต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติของชาวสุเมเรียนยังอยู่ในมิติจำกัด ทำให้การค้นคว้าทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมเรียนยังไม่มีพัฒนาเท่าที่ควร

    กล่าวโดยสรุป ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีการสร้างสรรค์ผลงานหลายอย่าง เข่น อักษรคูนิฟอร์ม ซิกกูแรต มหากาพย์กิลกาเมซ จานหมุน ความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญของมนุษยชาติ และผลงานของชาวสุเมเรียนยังสืบทอดมาจนถึงคนรุ่นปัจจุบัน

บรรณานุกรม

ณรงค์ พ่วงพิศ วุฒิชัย มูลศิลป์. (2560). หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ม.2. กรุงเทพมหานคร :  

          สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.

ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. (2558). ประวัติศาสตร์สากล 4-6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. 

          กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทเอมพันธ์ จำกัด.

สัญชัย สุวังบุตร, ชาคริตชุ่มวัฒนะ, อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และวุฒิชัยมูลศิลป์. (2558). 

          หนังสือเรียนประวัติศาสตร์สากล ม.4-6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทอักษรเจริญทัศน์  อจท.จำกัด.




    

ศิลปะบาโรก

    ศิลปะบาโรก ภาพที่ 1 ห้องกระจก ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เป็นรูปแบบของศิลปะบาโรก ที่มา http://www.versailles3d.com/en/over-the-ce...